กลับหน้าแรก

30.7.54

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์

 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์(ผาน้ำย้อย)เป็นหน่วยงาน ราชการที่สังกัดกระทรวงป่าไม้กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ มีพื้นที่ประมาณ
151,242 ไร่ หรือประมาณ242 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ บางส่วนในท้องที่ อ.หนองพอก
จ.ร้อยเอ็ด อ.กฉินารายณ์, อ.คำชะอี, อ.นิคมคำสร้อย, อ.หนองสูง และ อ.เมือง จ.มุกดาหาร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผา น้ำทิพย์
นับว่ามีความสำคัญด้านนิเวศน์วิทยา มีความ หลากหลายด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นป่าต้นน้ำลำธารหลายสายที่หล่อเลี้ยง
ชีวิตราษฎรใน จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร และ จ.กาฬสินธุ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในท้องที่ อ.บึงงาม อ.หนองพอก
จ.ร้อยเอ็ด มีหน่วยพิทักษ์ป่า ที่ตั้งอยู่รอบแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 4 หน่วย
ลักษณะภูมิประเทศ 
      
โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปา่นกลาง 200-600 เมตร ประกอบก้วยป่าดงดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็ง รัง ซึ่งสภาพป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก
ภาพทิวทัศน์บริเวณผาหมอกมิวาย
สัตว์ป่า ที่พบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ มีหลายประเภท แบ่งได้ ดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู่ป่า, เก้ง, ลิง, สุนัขจิ้งจอก, อีเห็น, กระรอก, กระแต ฯลฯ
 2. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูจงอาง, งูเหลือม, งูเห่า, งูเขียว ฯลฯ
 3. สัตว์ปีก เช่น เหยี่ยว, นกบั้งรอกใหญ่, นกโพ ระดก, นกปรอดเหลืองหัวจุก และนกอพยพหนีหนาวมา

จุดชมวิวผาหมอกวิวาย
จากไซบีเรียทางตอนเหนือของประเทศจีน
พรรณไม้ เนื่องจากสภาพป่าในเขตห้าล่าพันธ์สัตว์ป่าถ้ำ ผาน้ำทิพย์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ทางเศรษฐกิจ จึงยังคงมีอยู่มาก เช่น
ตะเคียน พยัง มะค่าโมง ลูกดิ่ง รวมทั้งสมุนไพร

เส้นทางเดินทาง
จากร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 ร้อยเอ็ด-โพนทอง และต่อไปตามทางหลวงหมาย เลข 2136 โพนทอง-หนองพอก
แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากหองพอก-บ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาด ถึงสำนักงานเขตห้าม
ล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร

19.10.53

ร้านค้าที่ได้รับความนิยมอันดับ 1

มีสินค้ามากมาย ตั้งแต่ของกินของใช้ เครื่องใช้ อุปกรณ์ความสวยความงามครบ เปิดตั้งแต่ 8.00 น.-22.00 น. ทุกวัน






16.10.53

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด

จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของ

จังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน

ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่

งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์

ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุม

และนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการ จัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหมได้แก่ ระบบสารสนเทศ

การทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัย
ที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร

วัดสระทอง

ตั้งอยู่ในตัวเมือง เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใด

ไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา(ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด คนแรก ได้พบพระองค์นี้เห็นว่ามีความเก่าแก่

และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่และยก ใ้ห้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อ

หน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้าน เมืองเป็นประจำทุกปี

15.10.53

วัดบูรพาภิราม

เขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ มาเป็นวัดบูรพาภิราม

มีพระพุทธรูปปางประทานพร ที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวน หลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20

เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่

ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย ด้านทิศ ตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัย เก่า ซึ่งเป็นที่่ี่สร้างุศาลาศาล

เจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ ซึ่งชาวเมืองร้อยเอ็ดเคารพนับถือมาก

วัดมี่งเมือง

วัดมี่งเมือง
ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐาน ว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำ พิพัฒน์สัตยา ปัจจุบัน เป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรมและ สถานที่สอบธรรมสถาน
ชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาด แสดงถึงพุทธ ประวัติ สวยงาม และมีค่าทางศิลปะ

ปรางค์กู่

ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่ ตำบลมะอึอำเภอ ธวัชบุรี หรือสายร้อยเอ็ด – โพนทอง ประมาณ 8 กิโลเมตร

มีทางแยกด้านขวามือ เข้าปรางค์กู่ประมาณ 1กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าวัดศรีรัตนารามปรางค์กู่ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์กู่







เป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบ เดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คือ อโรคยศาสล ตามที่ ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม

อันประกอบด้วยปรางค์ ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซ้อมประตูและสระน้ำ นอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร

โดย เฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และ มีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ ทางวัดก็ได้จัดบริเวณ

ให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ ใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บ

รักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทรายสลัก เป็นภาพบุคคล นั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายใน ซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล

จากการสอบถามเจ้าอาวาส วัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็น ทับหลังหน้าประตูมุข ของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่ง

มีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้น ส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลง

เป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุุว่าสร้างราว พุทธศตวรรษที่ 18

บึงเกลือ

    บึงเกลือ(บุ่งเกลือ) อยู่ในเขตตำบลเมืองไพรอำเภอเสลภูมิ ห่างจากตัวอำเภอ
เสลภูมิไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
มีเนื้อที่ 7,500 ไร่ ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาดกว้างขวางในวันหยุดจะมี
นักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกันมาก

กู่กาสิงห์

ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร
มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215
ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร กู่กาสิงห์
เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานีกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจนสวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า







ที่เรียกว่าบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง4ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อม
รอบอีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธาน หรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาวมีประตูทาง
เข้า 3 ทางคือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็น
แนวเช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือ ส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร)
และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความ เชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพ
พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลัก
เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐาน
ก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุุที่พบแสดงให้ทราบว่า




กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน"อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศ
ถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์

กู่พระโกนา

<><><><><><><> 
      



 กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทาง
หลวงสาย
215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง แล้วเข้าสาย 202 ผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา
ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไป ทางด้านซ้ายมือ
ด้านหน้าจะเป็นสวนยาง    กู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ - ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทาง
ทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับ
และก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียร
ของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
์ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลาง
ชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทาง
วัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้า
บันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า  ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตก
หล่นอยู่บนพื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่า
ในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียง
วางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยัง
สระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู
ซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16